วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ วิธีทาครีมที่มือ

เคล็ดลับ วิธีทาครีมที่มือ


มือ
ถือว่าเป็นอวัยวะที่ สาว ๆ และ หนุ่ม ๆ ให้สำคัญเป็นพิเศษ เพราะ มือ
เป็นอวัยวะ ที่ต้องใช้งานหนักในแต่ละวัน ดังนั้นจึงควรหัดมาดูแลด้วยการทา
ครีม บ้าง วันนี้ เราจึงมี เกร็ดความรู้ เคล็ดลับ วิธีทา ครีม ที่ มือ
มาฝาก สาว ๆ และ หนุ่ม ๆ กันจ้า

ทาครีม,ทาครีมที่มือ

มือถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่ต้องใช้งานหนักในแต่ละวัน
ดังนั้นจึงควรหัดมาดูแลด้วยการทาครีมบ้าง
วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีทาครีมมาฝากกัน...



ควรทาครีมรักษาผิวที่มือก่อนสวมถุงมือ เมื่อถอดถุงมือ ควรล้างมือเช็ดมือให้แห้งสะอาดเสมอ



ใช้ครีมล้างหน้าทาที่มือ ใช้ครีมเข้มข้นในเวลากลางคืน สำหรับโลชั่นบางเบา ในเวลากลางวัน



ควรใช้ครีมนวดอุ้งมือ ปลายนิ้ว และข้างเล็บก่อนนอน



ทาครีมล้างหน้าที่มือ แล้วสวมถุงมือผ้าฝ้าย อบไอร้อนจากน้ำเดือด จะทำให้ผิวมือนุ่มละมุน



อย่าลืมหันมาดูแลรักษามือกัน จะได้มีมือนุ่มๆ น่าสัมผัส

บทความ 10 วิธีถนอม กระดูกสันหลัง

10 วิธีถนอม กระดูกสันหลัง


มนุษย์เงินเดือนหรือคนทำงานวันนี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ทำงานนั่งหลังขดหลังแข็ง จนลืมดูแลพฤติกรรมตัวเองไปกันเกือบหมดแล้ว ส่งผลให้โครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกสันหลังที่เป็นเสาหลักของร่างกาย เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททุกเส้น ที่ออกไปควบคุมการทำงานของร่างกายในทุกระบบ เพื่อให้ร่างกายไม่ถูกทำร้ายด้วยความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีวิธีการหลีกหนีความเสี่ยงที่จะทำร้ายกระดูกสันหลังจาก ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ (Secret Shape Wellness Center)



1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด

2. การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้

3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา

4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ

5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย

6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง

7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง

8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้

9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ

10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

(ข้อมูลจาก นสพ. มติชน

วิจัย+สรุปวิจัย

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง   ส่งเสริมทักษะการระบายสี สำหรับนักเรียนชั้น อนุบาล 1/3
ผู้วิจัย   ครุสุธี        จันทร์พราหมณ์

1.   ความเป็นมา
กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมหนึ่งใน  6  กิจกรรมที่ครูได้ใช้ดำเนินการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน
และจากการจัดกิจกรรมนี้เอง  ครูผู้สอน   พบว่า    ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งมีทักษะพื้นฐานทางการระบายสีที่ดี แต่ยังมีข้อควรปรับปรุงอีกเล็กน้อย   ซึ่งครูผู้สอนได้เล็งเห็นว่า  หากมีการฝึกทักษะเป็นลำดับขั้นตอนอย่างถูกวิธี    จะช่วยส่งผลให้นักเรียนมีทักษะที่ถูกต้อง  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัยในเรื่องนี้เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาศิลปะต่อไป

2.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.   เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนระบายสีได้ถูกต้องตามขั้นตอน
2.   เพื่อให้นักเรียนระบายสีตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้

3.   สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกมีทักษะการระบายสีหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก

4.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.   นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก
2.   นักเรียนระบายสีได้เรียบร้อย สวยงาม ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

5.   ขอบเขตของการวิจัย
1.   ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นการส่งเสริมทักษะการระบายสี โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์และแบบฝึกทักษะ
2.   ประชากรในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนอนุบาล 1/3  โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2546

6.   วิธีดำเนินการวิจัย
6.1  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นอนุบาล  1/3  ปีการศึกษา  2546   จำนวน  5  คน
6.2   ตัวแปรที่ศึกษา
6.2.1   ตัวแปรต้น  ได้แก่   แผนการจัดประสบการณ์และแบบฝึกทักษะ
6.2.2   ตัวแปรตาม  ได้แก่   ความสามารถในการระบายสี
6.3   วิธีการนำไปใช้  ใช้ฝึก ช่วงเวลาพักเที่ยง  30  นาทีต่อครั้ง  โดยใช้ใบงานที่ครูกำหนดและมีการวัดผลดังนี้
6.3.1   ให้ระบายสีก่อนการใช้แบบฝึก  1  ครั้ง
6.3.2   ฝึกทักษะตามแบบฝึกที่กำหนดไว้และมีการตรวจผลงานเป็นระยะ ๆ
6.3.3   ให้ระบายสีหลังการฝึกทักษะ 1 ครั้ง
6.4   การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.4.1   ข้อมูลที่เก็บ  ได้แก่   ความสามารถในการระบายสี
6.4.2   วิธีการที่ใช้ คือ การตรวจผลงาน
6.4.3   เครื่องมือที่ใช้ คือ บันทึกผลการตรวจผลงาน
6.5   วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
6.5.1   เปรียบเทียบความสามารถในการระบายสีก่อนและหลังการฝึก
6.5.2   เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการระบายสีเป็นระยะ ๆ ในระหว่างการฝึก
6.6  สถิติที่ใช้  ได้แก่      ค่าเฉลี่ย ( X )
7.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล   ดังแสดงในตาราง
   7.1.  คะแนนความสามารถในการระบายสีก่อนและหลังการฝึก
ตารางที่  1    เปรียบเทียบความสามารถในการระบายสีของนักเรียน  ชั้นอนุบาล 1/3 
                                   ก่อนและหลังการฝึก  จำนวน    5   คน   (คะแนนเต็ม  3  คะแนน)


จากตารางที่  1  พบว่า   คะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกของนักเรียนเท่ากับ  1.40  คะแนนเฉลี่ยหลังฝึกเท่ากับ  3.00    ดังนั้น  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย     =   3.00 – 1.40 
                     =   1.60
      แสดงว่า  ภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะการระบายสี  นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีดีขึ้น
7.2  คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าในการระบายสี
   ตารางที่   2    ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียนอนุบาล 1/3  จากการฝึก  5  ครั้ง

จากตารางที่  2  พบว่า  คะแนนความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียนจากการใช้ภาพทดสอบ  5  ครั้ง  เท่ากับ  1.40 , 2.00 , 2.00 , 2.40  และ  3.00  ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านักเรียนกลุ่มนี้มีความก้าวหน้าในการระบายสีสูงขึ้น

8.  สรุปและอภิปรายผล
8.1   สรุปผล
ภายหลังการฝึกทักษะการระบายสีด้วยแบบฝึกทักษะที่ครูกำหนดขึ้น ซึ่งมีลำดับขั้นจากภาพ
ที่มีองค์ประกอบน้อยไปจนถึงภาพที่มีองค์ประกอบและรายละเอียดมาก  ปรากฎว่า  นักเรียนชั้นอนุบาล  1/3  ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  5  คน  มีทักษะการระบายสีที่ดีขึ้น
8.2   อภิปรายผล
จากผลการใช้แบบฝึกทักษะการระบายสี ปรากฎว่า นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีดี
ขึ้น    ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียน   พบว่า    นักเรียนมีพัฒนาการในการระบายสีดีขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนกิจกรรมที่ฝึกและเมื่อสิ้นสุดการฝึกก็พบว่านักเรียนทั้ง 5 คน สามารถระบายสีได้ดีมาก      สามารถกำหนดสีได้เหมาะสมกับภาพ      ระบายสีได้อย่างสวยงาม มีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์  แสดงว่าแบบฝึกที่ครูกำหนดขึ้นประกอบกับการให้คำชี้แนะนักเรียนเป็นรายบุคคล   ช่วยส่งเสริมทักษะการระบายสีของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.   ข้อเสนอแนะ
1.  ควรปรับใช้กิจกรรมนี้ฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังขาดทักษะการระบายสี
2.  ควรเผยแพร่ผลงานให้ครูคนอื่นได้นำไปทดลองใช้
http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=1757.0

สรุปวิจัย
จากผลการใช้แบบฝึกทักษะการระบายสี ปรากฎว่า นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีดี
ขึ้น    ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียน   พบว่า    นักเรียนมีพัฒนาการในการระบายสีดีขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนกิจกรรมที่ฝึกและเมื่อสิ้นสุดการฝึกก็พบว่านักเรียนทั้ง 5 คน สามารถระบายสีได้ดีมาก      สามารถกำหนดสีได้เหมาะสมกับภาพ      ระบายสีได้อย่างสวยงาม มีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์  แสดงว่าแบบฝึกที่ครูกำหนดขึ้นประกอบกับการให้คำชี้แนะนักเรียนเป็นรายบุคคล   ช่วยส่งเสริมทักษะการระบายสีของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ